วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ในความหมายของคำว่า  รับผิดชอบ ผมขอกล่าวตามความคิดได้ 3 ประการ
               1. สิ่งที่ต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากมีงานบางอย่างที่ผูกกับเราไว้ ว่าเราต้องทำสิ่งไหนบ้าง
ในแต่ละวัน เช่น "ไปรับลูก ซื้อกับข้าว กวาดบ้าน ฯลฯ" แต่ละอย่างนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำ
                2. สิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ทำ ก็หมายถึงหน้าที่การงานต่างๆ ที่ต้องทำให้สำเร็จ ตามที่ได้รับมอบหมายมาถ้าหากว่าไม่สำเร็จผลที่เกิดขึ้น ก็จะเกิดกับตัวเราและผู้มอบหมายความรับผิดชอบให้เรา
เมื่อได้งานมาอยู่ในมือ ก็ต้องทำและเคลียร์ออกไปให้หมด และลุล่วงไปได้
                3. ความรับผิดชอบทั่วไปผมขอกล่าวถึงอะไรๆก็ตามที่อยู่รอบตัวเรา ที่เราล้วนมีส่วนรับผิดชอบอยู่เช่นกันไม่ว่าจะเป็นชีวิตเรา ชีวิตผู้อื่น ต้นไม้ ใบหญ้า ธรรมชาติ การรักษาสิ่งแวดล้อมการทำสิ่งต่างๆอยู่ในสังคม ที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ครับ
ที่มา:guro.com
ความซื่อสัตย์
ในสังคมวันนี้ ความซื่อสัตย์ได้กลับกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อคนส่วนใหญ่ละเลย ด้วยจิตสำนึกผิดชอบที่คิดว่าเป็นเรื่องที่สามารถปฏิบัติได้โดยง่าย แต่ในความจริงแล้วความซื่อสัตย์เป็นเรื่องท้าทายใจอยู่ทุกขณะจิต เราต้องตัดสินใจที่ตอบรับหรือปฏิเสธว่าเราจะยังเดินอยู่ในกรอบแห่งความถูกต้องหรือไม่ ความซื่อสัตย์ที่แท้จริงยังเป็นเรื่องที่ต้องวัดได้ในขณะที่ยังไม่มีใครควบคุม ไม่มีใครรู้ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครมาคอยบังคับอีกด้วย
ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่มาจากใจจริง   :   ความซื่อสัตย์ในสังคมจัดเป็นปัญหาระดับชาติที่เริ่มตั้งแต่ตัวบุคคล สังคม และประเทศชาติ ภัยร้ายของความไม่ซื่อสัตย์ในสังคมมีมูลเหตุจากค่านิยมในการวัดความสำเร็จจากความมั่นคั่งแห่งอำนาจเงินและวัตถุ ก่อให้เกิดพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในลักษณะกอบโกย ฉ้อฉล คดโกง ใช้อิทธิพลขู่บังคับแลกกับความมั่งคั่งให้มากและรวดเร็วที่สุด
การดำเนินชีวิตที่ไม่ซื่อสัตย์ จะกลายเป็นความน่าเศร้าในระยะต่อไป บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่รู้ว่าตนเองได้ยึดความล้มเหลวที่ถูกปิดซ่อนมองไม่เห็นไว้ด้วยความหลงผิด เพราะแท้จริงแล้วมันคือ ความล้มเหลวที่เปรียบเสมือนระเบิดเวลาแห่งความหวาดกลัวที่เกรงว่าคนจะจับได้ เป็นเหมือนหนามเล็กๆที่คอยทิ่มแทงใจ
การตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์เป็นเรื่องของความจำเป็น   :   ไม่มีใครปรารถนาอยู่ในสังคมที่ปราศจากความซื่อสัตย์เพราะจะต้องอยู่อย่างหวาดระแวงและไม่มีความสุข เราต่างก็ปรารถนาความจริงใจจากกันและกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์จากครอบครัว ชุมชน หรือสังคม
หากเราเป็นผู้หนึ่งที่มีความมุ่งหมายในเป้าชีวิตสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน เราต้องปฏิเสธการดำเนินชีวิตที่เห็นเพียงแต่ผลประโยชน์ระยะสั้นเฉกเช่นเดียวกับคนที่ดำเนินชีวิตคดโกงอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคม เราจำเป็นต้องยึดมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ และพัฒนาจิตสำนึกภายในให้มั่นคงโดยยึดหลักแห่งการตัดสินใจที่ละเลือกความซื่อสัตย์อย่างแท้จริง
                สาเหตุของความไม่ซื่อสัตย์ประเภทหนึ่ง คือ ความหลงอำนาจ เมื่อมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น คนเราก็มักจะมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจในทางที่ผิดมากขึ้นด้วย คือ เมื่อมีอำนาจก็หลงตน คิดว่าประสบความสำเร็จและสามารถจะทำอะไรก็ได้ รากแห่งความไม่ซื่อสัตย์ในชีวิตอาจทำให้ผู้มีอำนาจหลงไปโดยการใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ บางคนอาจถูกล่อลวงด้วยเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง จนกระทั่งปฏิเสธความซื่อสัตย์ที่มีอยู่ในชีวิตอย่างสิ้นเชิง
                ตระหนักว่าความซื่อสัตย์เป็นบ่อเกิดแห่งความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ   :   เราควรยึดถือคติพจน์ไทยโบราณที่ค่อนข้างถูกปฏิเสธแล้วในสังคมปัจจุบันว่า "ซื่อกินไม่หมด คิดกินไม่นาน" คนทั่วไปอาจทึ่งในความสามารถ แต่เราควรให้คนประทับใจในลักษณะชีวิตความซื่อสัตย์ของเราด้วยในเส้นทางชีวิตที่ยาวไกล

ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย   :   ความซื่อสัตย์ต้องเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กๆ หากเราไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องเล็กน้อย เรื่องใหญ่เราก็จะไม่ซื่อสัตย์ด้วย ไม่ว่าจะกระทำการใดเราควรได้กระทำด้วยความรับผิดชอบตามกฎระเบียบ หากทำผิดก็ต้องรับผิด อย่าพลิกแพลงหรือแก้ตัว การแก้ตัวนั้นถือได้ว่า เป็นการไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง   ถึงแม้อาจจะฟังดีมีเหตุผล แต่ไม่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและกลับยิ่งเป็นการลดคุณค่าตัวเองมากยิ่งขึ้น หากเราทำดีมาร้อยครั้งแต่เมื่อเราทำผิดและแก้ตัว บุคคลอื่นก็จะเริ่มสงสัยไม่ไว้วางใจเรา เริ่มไม่อยากมอบหมายความรับผิดชอบให้กับเรา ดังนั้น เราจึงควรยอมรับความจริงได้แม้เราผิดพลาดไป และดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจว่าความซื่อสัตย์ที่เราพากเพียรทำไว้นั้นจะสามารถปกป้องเราไว้ได้อย่างแน่นอน
                ความซื่อสัตย์สามารถพัฒนาได้   : ความซื่อสัตย์เป็นเรื่องที่พัฒนาได้และเราควรมีแรงบันดาลใจอยากเป็นคนซื่อสัตย์ได้โดยตั้งคำถามว่า "เราอยากประสบความสำเร็จในระยะยาวหรือระยะสั้น" ความสำเร็จอย่างยั่งยืนริเริ่มได้ด้วยความตั้งใจจริงที่จะเอาชนะความฉ้อฉลที่พร้อมจะเกิดขึ้นในจิตใจของเรา
 ทุกคนสามารถได้รับความสำเร็จที่ยั่งยืนในชีวิตจากความซื่อสัตย์นี้ได้ หากดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวังพัฒนาและฝึกตนเอง เริ่มตั้งแต่ความคิด การกระทำและในทุกๆ การตัดสินใจต้องตั้งใจว่า จะไม่กระทำสิ่งใดเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ แต่จะใช้มาตรฐานความซื่อสัตย์เป็นตัววัดจิตใจเพื่อเราจะทำทุกสิ่งได้ถูกต้อง การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราถูกต้องเสมอต้นเสมอปลาย การเช่นนี้จะส่งเสริมให้เราเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ร่วมงาน เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ อันจะส่งผลให้ชีวิตเรามีศักดิ์ศรีและได้รับการยกชูในทางที่ดีขึ้น ความซื่อสัตย์ของเราวันนี้คือดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่ยั่งยืนในวันข้างหน้าของเราอย่างแท้จริง
ที่มา:www.google.com

คำอธิบายรายวิชา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสาระสนเทศความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสารเช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ท ระบบซอฟท์แวร์การจัดการทรัพยากรสาระสนเทศเครื่องมือการเข้าถึงสาระสนเทศทักษะการเข้าถึงสาระสนเทศ ฐานข้อมูลสาระสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิงฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์ในรายวิชา
เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมความสามารถดังนี้
1.
อธิบายความหมาย ความสำคัญและองค์ประกอบของเทคโนโลยีสาระสนเทศได้
2.
อธิบายความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสารได้
3.
ยกตัวอย่างเทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสารในชีวิตจริงได้
4.
อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
5.
อธิบายความสัมพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสาระสนเทศได้
6.
บอกความหมายและองค์ประกอบสำคัญๆของคอมพิวเตอร์ได้
7.
อธิบายหน้าที่องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
8.
บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
9.
บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
10.
บอกความสัมพันธ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตได้
11.
อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่างๆที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
12.
อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศกับการศึกษาได้
13.
ยกตัวอย่างโปรแกรมต่างๆที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
14.
สร้างสื่อเทคโนโลยีสาระสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
15.
นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสาระสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้
เนื้อหาบทเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่1.ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสาระสนเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่2.ระบบเทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสาร
หน่วยการเรียนรู้ที่3.คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนรู้ที่4.ซอฟท์แวร์
หน่วยการเรียนรู้ที่5.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนรู้ที่6.อินเตอร์เน็ต
หน่วยการเรียนรู้ที่7.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศกับการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนรู้ที่8.การใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศในการนำเสนอผลงาน